เปิดฉาก “สถาปนิกอีสาน ’56” ภายใต้แนวคิด “สองฝั่งโขง : wisdom” ส่งเสริมวงการสถาปัตย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลักดันเศรษฐกิจเตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC |
เปิดฉาก สถาปนิกอีสาน ’56 งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยความร่วมมือของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน และบริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยงานดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นในการร่วมเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ และจัดแสดงผลิตภัณฑ์ด้านสถาปัตยกรรม การจัดงาน สถาปนิกอีสาน ’56 ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “สองฝั่งโขง : wisdom” โดย ดร.นิธิ ลิศนันนท์ ประธานจัดงานสถาปนิกอีสานประจำปี 2556 ได้กล่าวถึงแนวความคิดการจัดงานไว้อย่างน่าสนใจว่า “การจัดงานปีนี้ |
เราได้กำหนดแนวคิดว่า สองฝั่งโขง : wisdom มีที่มาจาก สองฝั่งโขง เป็นบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง
ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง
สองฝั่งได้ก่อเกิดแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว
ตามบริบทของวิถีชีวิต วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ทั้งสองฝั่งโขงที่ ประกอบไปด้วยชนชาติต่างๆกันได้แก่ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของภูมิภาคที่เรียกว่า อีสาน พื้นที่อีสาน เป็นดินแดนที่ผสมผสานทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ต่างๆ ความเชื่อและประเพณีท้องถิ่น นำไปสู่การปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง แต่ก็อาศัยแม่น้ำมูล แม่น้ำชี เป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงคนอีสาน ซึ่งจะไปเชื่อมต่อกับแม่น้ำโขง ในที่สุดจึงก่อให้เกิดภูมิปัญญาของชุมชนกับสายน้ำกลายเป็นผลผลิตทาง สถาปัตยกรรมที่เป็นลักษณะ เฉพาะของอีสาน นับจากนั้นเป็นต้นมา แม่น้ำโขงเป็นสิ่งยึดโยงคนสองฝั่งเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยมิตรภาพไปมาหาสู่กันตั้งแต่อดีต การดำรงชีวิตของผู้คนสองฝั่งโขงจึงเกิดการแลกเปลี่ยนและสืบทอดภูมิปัญญาร่วม กัน ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นไทย ลาว ภูไท ญวน พวน ข่า เขมร เป็นต้น โดยเป็นกลุ่มชนทั้งที่อยู่ในอีสานและอีกหลายประเทศริมแม่น้ำโขง ดังนั้นความเป็นอีสานกับความเป็นคนสองฝั่งโขง จึงแยกกันไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรม ทั้งหมดนี้เป็นต้นกำเนิดของการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมขึ้นในลุ่มแม่น้ำโขง การ จัดงานสถาปนิกอีสานปีนี้ มีการเตรียมการสำหรับการเปิดเสรีทางการค้า AEC ในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนสร้างและสนับสนุนบุคลากรทางวิชาชีพสถาปัตยกรรมใน ระดับภูมิภาค กรรมาธิการสถาปนิกอีสานได้จัดงานสถาปนิกอีสานเพื่อส่งเสริมให้ภูมิภาคอีสาน มีส่วนร่วมในกิจกรรมในงาน เช่นการหมุนเวียนการจัด ในแต่ละจังหวัดในอีสานของแต่ละปี การมีส่วนร่วมจัดงานของบุคลากรในแต่ละมหาวิทยาลัย และองค์กรต่างๆทั้งรัฐและเอกชน โดยเฉพาะได้ร่วมกับต่างประเทศ เช่น ประเทศลาว ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมและนำผลงานมาจัดแสดงไม่ต่ำกว่า 3ครั้งอย่างต่อเนื่อง ทำให้กิจกรรมของงานสถาปนิกอีสานเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความคิดเห็นระหว่างนักศึกษา คณาจารย์และสถาปนิกทั้งไทยและต่างชาติ โดยเรียนรู้ผ่านรูปแบบของนิทรรศการของแต่ละสถาบัน ผลงานของสถาปนิก และผลงานวิจัยทางด้านสถาปัตยกรรม นำไปสู่การหารือร่วมกันในทางด้านวิชาการ และวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมระหว่างสถาบัน เป็นฐานข้อมูลที่สำคัญเพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเสรีทางการค้า AEC” ดร.นิธิ กล่าว งาน สถาปนิกอีสาน ’56 เน้นรูปแบบการจัดงานให้มีกลิ่นไอความเป็นพื้นถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งเน้นสานสัมพันธ์กับประเทศลาว โดยเลือก จ.ขอนแก่น เป็นพื้นที่จัดงาน สถาปนิกอีสาน ’56 ในครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีที่กลุ่มผู้แสดงสินค้าจะได้พบปะเจรจากับกลุ่มนักธุรกิจจาก ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังเป็นการขยายกลุ่มผู้เข้าชมงานให้กว้างขึ้นอีกด้วย สำหรับกลุ่มเป้าหมายของงานในครั้งนี้ ประกอบด้วย สถาปนิก วิศวกร มัณฑนากร นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบการ ผู้จัดการโครงการ เจ้าของโครงการ ผู้ลงทุน ผู้รับเหมาก่อสร้าง และผู้ที่สนใจ ขอเชิญร่วมเปิดโลกทัศน์ ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างอันทันสมัย และผลิตภัณฑ์ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ จากบริษัทชั้นนำของประเทศ ที่ยกทัพมาให้ชาวภาคอีสานได้ชมอย่างใกล้ชิดภายในงาน สถาปนิกอีสาน ’56 งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 25 – 27 ตุลาคม 2556 ณ ขอนแก่น ฮอลล์ เซ็นทรัลพลาซ่า จังหวัดขอนแก่น |